วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2561

มารู้จักสีผสมอาหารจากธรรมชาติกันนะ




สีผสมอาหาร จากธรรมชาติ ได้มาจากอะไรบ้าง

การใช้สีผสมอาหารมีจุดประสงค์เพื่อให้อาหารแลดูสวยงาม น่ารับประทาน ซึ่งสามารถดึงดูดใจผู้บริโภคทั้งเด็กและผู้ใหญ่ แต่เราจะใช้ยังไงให้ปลอดภัย ถ้าเราต้องซื้ออาหารที่เค้าทำขายตามท้องตลาด ซึ่งผู้ค้าสมัยนี้หาคนที่มีสำนึกรับผิดชอบได้น้อยมาก โอกาส ที่เราจะได้รับอันตรายจากสีสังเคราะห์ที่ใช้ผสมอาหารนั้นมีมาก ทางที่ดีถ้าเรามีฝีมือในการทำอาหารอยู่บ้างแล้ว แนะนำให้ทำทานเองที่บ้านดีกว่า ถึงแม้ว่าการทำครั้งแรกอาจจะไม่อร่อยถูกปากเหมือนกับที่ซื้อเค้ามา แต่ถ้าเราทำบ่อยๆ เราก็สามารถพัฒนาฝีมือของเราเองไปเรื่อยๆ แถมยังได้อาหารที่สด สะอาดและปลอดภัยอีกด้วย วันนี้เรามีวิธีการนำสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ ที่หลายคนยังไม่เคยรู้ว่าทำได้ มาทำสีผสมอาหาร ยังไงลองเอาไปทำดูนะคะรับรองว่าปลอดภัยจากอันตรายจากสีสังเคราะห์ 100 %

สีเหลือง
  • ขมิ้น นำเหง้าแก่ ล้างด้วยน้ำสะอาดปอกเปลือกแล้ว นำไปบดให้ละเอียด เติมน้ำลงไปแล้วคั้นและกรองจะได้น้ำสีเหลืองเข้ม 
  • ฟักทอง นำเนื้อฟักทอง ปอกเปลือกออก ฝานไส้และเมล็ดทิ้ง ล้างให้สะอาด นึ่งให้สุก เอามายีผสมกับแป้งหรืออาหารตามต้องการ 
  • ลูกตาล นำผลตาลสุก ปอกเปลือกออก เติมน้ำลงไปเล็กน้อย นวดเอาเนื้อสีเหลืองออกให้หมดจากเส้นใย เทลงถุงผ้าหนาๆ มัดปากถุงแล้วทับให้แห้ง จะได้เนื้อลูกตาลสีเหลือง 
  • ดอกคำสฝอย นำดอก น้ำมาชงในน้ำร้อนจะได้น้ำสีเหลือง 
  • ดอกกรรณิการ์ ส่วนที่ใช้คือหลอดดอก นำหลอดดอกในปริมาณ 1 ถ้วย ใสในผ้าขาวบาง หยุดน้ำใส่เล็กน้อยแล้วคั้นเอาแต่น้ำไปใช้ 
  • ลูกพุด ผลแก่หรือผลแห้ง แกะเปลือกออกแล้วนำไปแช่ในน้ำร้อนแล้วนำน้ำไปใช้

สีแดง
  • รังครั่ง นำรังครั่งมาแช่ในน้ำร้อน กรอง จะได้น้ำสีแดงใส 
  • ข้าวแดง เมล็ดข้าวแดง นำเมล็ดข้าวแดงมาบดให้ละเอียด แล้วนำไปผสมอาหาร 
  • กระเจี๊ยบ กรีบรองดอกและกลีบเลี้ยง นำมาต้มในน้ำ เคี่ยวให้สีแดงออกมา กรองเอากากออก นำน้ำที่ได้ไปใช้แต่งสี
  • ถั่วแดง เมล็ดหถั่วแดง ล้างให้สะอาดแล้วต้มเคี่ยวกับน้ำ แล้วนำน้ำสีแดงที่ได้ไปผสมกับอาหาร

สีเขียว
  • ใบเตย นำใบเตยสด ล้างน้ำให้สะอาด หั่นเป็นท่อนตามขวาง ตำหรือโขลก เติมน้ำลงไปเล็่กน้อยแล้วคั้น กรองด้วยผ้าขาวบางจะได้น้ำสีเขียว

สีส้มอมเหลือง
  • เมล็ดคำแสด เมล็ดผลของคำแสด นำมาบดแล้วแชช่น้ำ รองเอากากออก ตั้งทิ้วไว้ ให้สีตกตะกอนรินน้ำใส่ๆ ทิ้ง นำตะกอนสีแสดไปใช้แต่งสี

สีน้ำตาล
  • น้ำตาลจากอ้อยหรือมะพร้าว โดยใช้น้ำตาลทรายและน้ำตาลปึก นำไปเคี่ยวไฟอ่อนๆ จนเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลนำไปใช้แต่งสีได้
  • น้ำตาลไหม้ ใช้น้ำตาลทราย หรือน้ำตาลปึก ตั้งไฟละลายเคี่ยวจนไหม้ แต่งหน้าขนมนางเล็ด

สีน้ำเงิน
  • ดอกอัญชัน นำกลีบดอกมาบด เติมน้ำลงไปเล็กน้อย กรองด้วยผ้าขาวบาง คั้นน้ำออกมาจะได้นำสีน้ำเงิน

สีม่วง
  • ดอกอัญชัน นำกลีบดอกมาบด เติมน้ำลงไปเล็กน้อย กรองด้วยผ้าขาวบาง คั้นน้ำออกมาจะได้นำสีน้ำเงิน เติมน้ำมะนาวลงไปเล็กน้อยจะได้สีม่วง
  •  แก้วมังกร นำเนื้อแก้วมังกรที่มีข้างในสีม่วง มาคั้นแล้วกรองเอาน้ำ นำน้ำที่ได้ไปใช้แต่งสีม่วง ถ้าต้องการสีชมพูก็นำน้ำไปใช้ผสมในปริมาณ น้อยก็จะได้สีชมพู

สีผสมอาหารจากพืช ที่คนไทยโบราณใช้กันมา ในปัจจุบันชักจะเลือนหายไปทุกที ซึ่งการใช้สีผสมอาหารจากธรรมชาติ 100 % นอกจากจะได้สีสันที่สวยงามแล้ว ยังได้กลิ่นเฉพาะตัวอีกด้วย สีที่เราสามารถสกัดได้จากพืชหลายสี เป็นสีที่ปลอดภัยและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ได้แก่

สีเหลือง
สกัดได้จาก ขมิ้นชันและขมิ้นอ้อย ล้างดินปอกเปลือก โขลกให้ละเอียด เติมน้ำแล้วกรองเอา
แต่น้ำ ใช้ทำข้าวเหนียวหน้ากุ้ง ข้าวหมกไก่ แกงกะหรี่ ขนมเบื้องญวนดอกคำฝอย ให้สีเหลืองอ่อนใช้กลีบตากแห้งต้มกับน้ำเดือด 5 นาที กรองเอากากทิ้ง ใช้ผสมขนมต่าง ๆเมล็ดคำแสด ให้สีเหลืองแสด ใช้เมล็ดแห้งแช่น้ำร้อน กรองเอาแต่น้ำลูกพุด ใช้ผลแก่หรือแห้ง ซื้อตามร้านขายยาแผนโบราณ แช่น้ำร้อน กรองเอาแต่น้ำ ดอกกรรณิการ์ ให้สีแสด ใช้ก้านดอกสีแสด บิดให้ช้ำ เติมน้ำนิดหน่อย ห่อผ้าขาวบางคั้นเอาแต่น้ำ ลูกตาลสุก ลอกเปลือกแข็งออกใส่น้ำพอท่วม นวดให้เนื้อเละ เติมน้ำอีกเท่าตัว คนให้เข้ากัน คั้นกรองเอาเส้นและเปลือกทิ้ง เทน้ำใส่ถุงผ้าทับให้แห้ง ทำขนมตาล ขนมเค้ก ไอศกรีม ฟักทอง นึ่งผสมกับแป้ง ทำขนมถั่วแปบแครอท ต้มสุกบดละเอียด ผสมลงในถั่วกวน

สีเขียว
ใบเตยหอม ใช้ใบค่อนข้างแก่หั่นละเอียด โขลกเติมน้ำ คั้นน้ำ ทำขนมชั้น มะพร้าวแก้ว
ซ่าหริ่ม ลอดช่องใบย่านาง ใบพริก ใบผักชี ใบมะตูม ใบตะไคร้ พริกเขียว โขลกละเอียด คั้นน้า
แต่งสีอาหารคาว เช่น แกงบอน แกงเขียวหวาน

สีแดง
รังครั่ง แช่น้ำร้อนหรือต้ม ถ้าต้องการสีแดงใส ใช้สารส้มแกว่งในน้ำที่ได้ ทำขนมชั้น ซ่าหริ่ม
ขนมน้ำดอกไม้พริก ที่สุกแดงทุกชนิดแกะเมล็ดออก โขลกเนื้อพริกให้ละเอียดใช้ได้ทั้งพริกแห้ง และพริกสด ทำแกงเผ็ด น้ำพริก น้ำยา น้ำจิ้มมะเขือเทศสุก หั่น สับ ต้มและยีทำเป็นซอสมะเขือเทศกระเจี๊ยบ ใช้กลีบหุ้มผลต้มกับน้ำคั้นเอาแต่น้ำสีแดงเมล็ดผักปรัง ใช้เมล็ดแก่สีแดงคล้ำ ขยี้คั้นเอาแต่น้ำ

สีน้ำเงิน
ดอกอัญชัน ใช้กลีบสีน้ำเงินขยี้ให้ช้ำเติมน้ำเล็กน้อย กรองด้วยผ้าขาวบาง ทำขนมชั้น ซ่าหริ่ม
ถั่วแปบ

สีม่วง
ดอกอัญชัน บีบมะนาวลงไป ทำขนมช่อม่วง

สีดำ
ถ่านกาบมะพร้าว บดละเอียดเติมน้ำคั้น กรอง ทำขนมเปียกปูน ดอกดิน เอื้องดิน โขลกผสม
กับแป้ง น้ำตาล ทำขนมดอกดิน ถั่วดำ ต้มสุกโขลกละเอียด ทำไส้ซาลาเปา ขนมเปี๊ยะ

สีน้ำตาล
น้ำตาลไหม้ ใช้น้ำตาลทราย หรือน้ำตาลปึก ตั้งไฟละลายเคี่ยวจนไหม้ แต่งหน้าขนมนางเล็ด
สีเหล่านี้มีให้เลือกใช้นำไปปรุงอาหารทั้งคาวและหวาน แตกต่างกันไปตามความประสงค์ของผู้ใช้ แต่มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน นั่นคือความสบายใจของผู้บริโภคที่ได้รับแต่ของดีมีประโยชน์

สีดำ
ถั่วดำ นำเมล็ดถั่วดำมาล้างให้สะอาด ต้มเคี่ยวกับน้ำจะได้สีดำ
มะพร้าว นำเปลือกมะพร้าวมาเผาไฟ แล้วเอาไปบดผสมกับน้ำแล้วกรอง จะได้น้ำสีดำนำไปใช้ผสมอาหาร

ประโยชน์ของสีในพืช
  • สารสีแดง มีสาร Cycopene เป็นตัวพิวเม้นท์ให้สีแดงในแตงโม มะเขือเทศ สาร Betacycin ให้สีแดง ในลูกทับทิม บีทรูท และแคนเบอร์รี่ สารทั้งสองอย่างนี้เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ หรือ Antioxydants ซึ่งจะช่วยป้อง กันการเกิดมะเร็งหลายชนิด 
  • สารสีส้ม ผักและผลไม้สีส้ม เช่น มะละกอ แครอท มีสาร Betacarotene ซึ่งมีศักยภาพต้านอนุมูลอิสระอันเป็นตัวก่อมะเม็ง คนผิวขาวซีดที่กินมะละกอหรือแครอทมาก ผิวจะออกสีเหลืองสวย ทางกระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกาประกาศว่า การกินแครอทวันละ 2-3 หัว จะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล หรือไขมันในเลือด คนไทยที่ทดลองกินมะละกอห่ามมากๆ นานถึง 2 ปี จะช่วยเปลี่ยนสีผิวหน้าที่เป็นฝ้าให้หายได้โดยไม่ต้องพึ่งครีมแก้ฝ้าเลย 
  • สารสีเหลือง พิกเม้นต์ Lutein คือสารสีเหลืองที่ให้สีสันแก่ข้าวโพด ช่วยป้องกันกันความเสื่อมของจุดสี หรือแสงสีของเรตินาดวงตา ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนแก่มองไม่เห็น 
  • สารสีเขียว พิกเม้นต์คลอโรฟีลล์ (Chlorophyll ) เป็นสารที่ให้สีเขียวแก่ผักต่างๆ ผักที่มีสีเขียวแก่ผักต่างๆ ผักที่มีสีเขียวเข้มมากก็ยิ่งมีคลอโรฟีลล์มาก เช่น ตำลึง คะน้า บร็อกโคลี่ ชะพลู บัวบก เป็นต้น และสารคลอโรฟีลล์ ก็มีคุณค่ามากเหลือเกิน นักวิทยาศาสตร์บอกว่าเมื่อคลอโรฟีลล์ถูกย่อยแล้ว จะมีพลังแรงมากในการป้องกันมะเร็ง ทั้งยังช่วยขจัดกลิ่นเหม็นต่างๆ ในตัวคนด้วย
  •  สารสีม่วง พืชสีม่วงมีสารแอนโทไซยานิน ( Anthocyanin ) เป็นต้นให้สีม่วงที่คุณเห็นในดอกอัญชัน กะหล่ำม่วงผิวชมพู่มะเหมี่ยว มะเขือม่วง แบล็กเบอร์รี่ บลูเบอร์รี่ นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าสารตัวนี้ช่วย ลบล้างสารที่ก่อมะเร็งและสาร Anthocyanin นี้ยังออกฤทธิ์ทางขยายเส้นเลือด ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ และอัมพาตด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น