การจัดแบ่งขนมหวานไทย
ในตำราอาหาร ของคาว ของหวาน จากตำรับอาหารของหม่อมเจ้าหญิ
1.
เปียก
ตามพจนานุกรมราชบัณฑิ ตยสถานหมายถึงการต้มผสมกวนสิ่ งใด
ไม่ว่าจะเป็นข้าว แป้ง ในหม้อ ตั้งไฟให้สุกจนเกิดความข้น เละ ข้าวเหนียวเปียกมีหลากรสตามพื ชพันธุ์ที่จับคู่มาผสมผสาน
ข้าวเหนียวเปียกมะพร้าวอ่อน ลำไย ข้าวโพด ขนมที่ปรุงโดยการเปียกหลายชนิ ดมัก collaborate กับกะทิหอมมันแล้วเข้ากันสุดๆ
ครองแครงกะทิ สาคูเปียก บัวลอย ปลากริม รวมถึงขนมประเภทแกงบวดที่ใช้เผื อก
ฟักทอง มัน ถั่วดำน้ำกะทิ ไปจนถึงขนมต้มน้ำตาลต่างๆ มันเทศ ถั่วเขียว ลูกตาลอ่อน
และข้าวต้มน้ำวุ้น เป็นต้น
2.
นึ่ง
การทำให้สุกโดยใช้ไอน้ำ
ขนมไทยที่ใช้วิธีการปรุงแบบนี้ ก็เช่นข้าวเหนียวหน้าต่างๆ กุ้ง กระฉีกปลาแห้ง
สังขยา หรือคัสตาร์ดแบบไทย มีการเหยาะหย่อนพืชผลท้องถิ่ นไปในเนื้อสังขยาด้วย เช่น
มะพร้าวอ่อน ฟักทอง ลูกบัว ขนมอร่อยในกระบอกอย่างข้าวหลาม ข้าวเหนียวตัดในถาด
ก็ใช้วิธีการนึ่ง รวมถึงขนมถ้วยสังขยา ขนมถ้วยหน้ากะทิ ขนมเข่ง ขนมชั้น ขนมถ้วยฟู
ขนมน้ำดอกไม้ ขนมขี้หนู ขนมดอกโสน ฯลฯ
3.
ผิง
จากกาพย์เห่ชมเครื่ องคาวหวานทำให้เราเข้าใจภาพได้ ดีว่าผิงคือการทำให้ผ่าวร้อน
ใช้ความร้อนเผา อังไฟ เป็นการทำให้สุกแบบร้อนจากด้ านบนด้านล่าง
เป็นกรรมวิธีที่ใช้ ในการทำขนมไทยแห้งกรอบอย่ างขนมผิง ขนมกลีบลำดวน
ขนมที่มีเนื้ออารมณ์เดียวกับสั งขยาอย่างขนมหม้อแกง
ขนมที่มะพร้าวเป็นตัวเด่นอย่ างบ้าบิ่น ขนมจากกรอบ ข้าวเหนียวปิ้งต่างๆ ข้าวเกรียบว่าว
เป็นขนมที่เรารู้สึกประมาณว่ าความร้อนกับกลิ่นหอมของขนมมั นสัมพันธ์กันมากกว่าเป็นตั วทำให้ขนมสุกเท่านั้น
4.
กวน
การทำให้สุกโดยใช้ความร้อนกวนสิ่ งใดให้เข้ากัน
เช่น ผลไม้กับน้ำตาล ทำให้เข้ากันจนเกิดลักษณะข้ นเหนียว ทุเรียน กล้วย
สับปะรด พุทรา กะละแม มะพร้าวแก้ว ข้าวเหนียวแก้ว ขนมเปียกปูน ข้าวยาคู ตะโก้
หยกมณี ขนมไทยสายกวนนี้จะมีความหนึ บและหวานจัดสูสีการเชื่อมกั นเลยทีเดียว
5.
เชื่อม
คือการเคี่ยวน้ำตาลในน้ำที่ตั้ งไฟจนละลาย
สิ่งที่ได้มาเรียกว่าน้ำเชื่อม ใส่ผลไม้ พืชผัก ไข่ หรือส่วนผสมใดๆ ลงไปจนน้ำตาลเข้าเนื้อ
มันเทศ เผือก ฟักทอง สาเก กล้วย พุทราจีน สับปะรด มันสำปะหลัง
ขนมไทยที่เชื่อมจนหวานหยดนิยมรั บประทานราดกะทิเค็มๆ ตัดรส
ส่วนเม็ดขนุนคือถั่วบดเชื่อม ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง กรรมวิธีการปรุงก็เข้าข่ ายการเชื่อม
การเชื่อมขนมแต่ละอย่างต้องรู้ สัดส่วนของน้ำตาล
: น้ำให้ดี การเชื่อมจึงจะได้ผลสวยงาม อย่างการทำฝอยทองในหนังสือ ชมรมแม่บ้านทันสมัย
โดย พลศรี คชาชีวะ อธิบายว่าใช้น้ำ 1 ส่วน (ถ้าใช้น้ำลอยดอกมะลิจะหอมเข้ าเนื้อดี)
น้ำตาลส่วนครึ่งจึงจะพอเหมาะ ทองหยิบ ทองหยอด ใช้น้ำเชื่อมข้นกว่า
จึงมีคำแนะนำให้ทำฝอยทองก่อน อีกทั้งยังมีเทคนิคการฟอกน้ำเชื่ อมด้วยเปลือกไข่เพื่อให้น้ำเชื่ อมขาวดี