วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2561

การแบ่งชนิดขนมหวานไทย



การจัดแบ่งขนมหวานไทย


ในตำราอาหาร ของคาว ของหวาน จากตำรับอาหารของหม่อมเจ้าหญิงจันทร์เจริญรัชนี ในส่วนของหวาน จัดแบ่งขนมหวานไทยไว้ตามวิธีการปรุงให้สุกตามนี้

1.     เปียก
ตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถานหมายถึงการต้มผสมกวนสิ่งใด ไม่ว่าจะเป็นข้าว แป้ง ในหม้อ ตั้งไฟให้สุกจนเกิดความข้น เละ ข้าวเหนียวเปียกมีหลากรสตามพืชพันธุ์ที่จับคู่มาผสมผสาน ข้าวเหนียวเปียกมะพร้าวอ่อน ลำไย ข้าวโพด ขนมที่ปรุงโดยการเปียกหลายชนิดมัก collaborate กับกะทิหอมมันแล้วเข้ากันสุดๆ ครองแครงกะทิ สาคูเปียก บัวลอย ปลากริม รวมถึงขนมประเภทแกงบวดที่ใช้เผือก ฟักทอง มัน ถั่วดำน้ำกะทิ ไปจนถึงขนมต้มน้ำตาลต่างๆ มันเทศ ถั่วเขียว ลูกตาลอ่อน และข้าวต้มน้ำวุ้น เป็นต้น

2.    นึ่ง
การทำให้สุกโดยใช้ไอน้ำ ขนมไทยที่ใช้วิธีการปรุงแบบนี้ก็เช่นข้าวเหนียวหน้าต่างๆ กุ้ง กระฉีกปลาแห้ง สังขยา หรือคัสตาร์ดแบบไทย มีการเหยาะหย่อนพืชผลท้องถิ่นไปในเนื้อสังขยาด้วย เช่น มะพร้าวอ่อน ฟักทอง ลูกบัว ขนมอร่อยในกระบอกอย่างข้าวหลาม ข้าวเหนียวตัดในถาด ก็ใช้วิธีการนึ่ง รวมถึงขนมถ้วยสังขยา ขนมถ้วยหน้ากะทิ ขนมเข่ง ขนมชั้น ขนมถ้วยฟู ขนมน้ำดอกไม้ ขนมขี้หนู ขนมดอกโสน ฯลฯ

3.    ผิง
จากกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานทำให้เราเข้าใจภาพได้ดีว่าผิงคือการทำให้ผ่าวร้อน ใช้ความร้อนเผา อังไฟ เป็นการทำให้สุกแบบร้อนจากด้านบนด้านล่าง เป็นกรรมวิธีที่ใช้ในการทำขนมไทยแห้งกรอบอย่างขนมผิง ขนมกลีบลำดวน ขนมที่มีเนื้ออารมณ์เดียวกับสังขยาอย่างขนมหม้อแกง ขนมที่มะพร้าวเป็นตัวเด่นอย่างบ้าบิ่น ขนมจากกรอบ ข้าวเหนียวปิ้งต่างๆ ข้าวเกรียบว่าว เป็นขนมที่เรารู้สึกประมาณว่าความร้อนกับกลิ่นหอมของขนมมันสัมพันธ์กันมากกว่าเป็นตัวทำให้ขนมสุกเท่านั้น

4.    กวน
การทำให้สุกโดยใช้ความร้อนกวนสิ่งใดให้เข้ากัน เช่น ผลไม้กับน้ำตาล ทำให้เข้ากันจนเกิดลักษณะข้นเหนียว ทุเรียน กล้วย สับปะรด พุทรา กะละแม มะพร้าวแก้ว ข้าวเหนียวแก้ว ขนมเปียกปูน ข้าวยาคู ตะโก้ หยกมณี ขนมไทยสายกวนนี้จะมีความหนึบและหวานจัดสูสีการเชื่อมกันเลยทีเดียว

5.    เชื่อม
คือการเคี่ยวน้ำตาลในน้ำที่ตั้งไฟจนละลาย สิ่งที่ได้มาเรียกว่าน้ำเชื่อม ใส่ผลไม้ พืชผัก ไข่ หรือส่วนผสมใดๆ ลงไปจนน้ำตาลเข้าเนื้อ มันเทศ เผือก ฟักทอง สาเก กล้วย พุทราจีน สับปะรด มันสำปะหลัง ขนมไทยที่เชื่อมจนหวานหยดนิยมรับประทานราดกะทิเค็มๆ ตัดรส ส่วนเม็ดขนุนคือถั่วบดเชื่อม ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง กรรมวิธีการปรุงก็เข้าข่ายการเชื่อม
การเชื่อมขนมแต่ละอย่างต้องรู้สัดส่วนของน้ำตาล : น้ำให้ดี การเชื่อมจึงจะได้ผลสวยงาม อย่างการทำฝอยทองในหนังสือ ชมรมแม่บ้านทันสมัย โดย พลศรี คชาชีวะ อธิบายว่าใช้น้ำ 1 ส่วน (ถ้าใช้น้ำลอยดอกมะลิจะหอมเข้าเนื้อดี) น้ำตาลส่วนครึ่งจึงจะพอเหมาะ ทองหยิบ ทองหยอด ใช้น้ำเชื่อมข้นกว่า จึงมีคำแนะนำให้ทำฝอยทองก่อน อีกทั้งยังมีเทคนิคการฟอกน้ำเชื่อมด้วยเปลือกไข่เพื่อให้น้ำเชื่อมขาวดี

ทำขนมไทยอย่างไรให้อร่อย




เคล็ดลับการทำขนมไทยให้อร่อย


ขนมประเภททอด
ขนมไทยที่ใช้วิธีการทอดมีอยู่หลายอย่างด้วยกัน แต่ที่คุ้นหูและเคยเห็นวางขายในตลาด
อยู่บ่อย ๆ ได้แก่ ขนมฝักบัว ขนมกรอบเค็ม ขนมดอกจอก ขนมเกลียว ขนมงา ขนมทองพลุ เป็นต้น แต่จะทอดขนมเหล่านี้อย่างไรให้น่ารับประทาน พร้อมทั้งหลีกเลี่ยงปัญหากลิ่นเหม็นหืนของน้ำมันที่ติดมากับขนม เรามีวิธีการทอดและการใช้ความร้อนที่เหมาะสมกับลักษณะของขนมแต่ละชนิดมาบอกกันครับ
การเลือกน้ำมัน เป็นสิ่งที่จำเป็นมากในการทอดขนมไทย เพราะน้ำมันบางชนิดเมื่อทอดแล้วจะมีกลิ่นหืนตกค้างอยู่ในขนม แนะนำให้เลือกใช้น้ำมันที่สกัดมาจากปาล์มเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหากลิ่นหืนที่ติดมากับขนม
การใช้ไฟในขณะทอด อุณหภูมิของการทอดขนมจะขึ้นอยู่กับแต่ละชนิดของขนม บางชนิดต้องใช้อุณหภูมิต่ำบางชนิดต้องใช้อุณหภูมิปานกลางถึงสูงแต่ในการทอดครั้งแรกอาจจะใช้น้ำมันที่ร้อนจัดเพื่อให้ขนมฟูขึ้น เมื่อฟูเต็มที่แล้วจึงลดไฟลงเป็นไฟกลาง แล้วค่อย ๆ ลดลงมาเหลือไฟอ่อน ๆ เช่น การทอดขนม ทองพลุ
การนำลงทอด ขณะทอดไม่แนะนำให้คนบ่อย ๆ ควรปล่อยให้สุกหรือเกือบเหลืองจึงกลับอีกด้าน การทอดแต่ละครั้งไม่ควรทิ้งเศษขนมให้ตกค้างในน้ำมันต้องคอยช้อนเศษขนมขึ้นจากน้ำมันให้หมด เพราะจะทำให้อุณหภูมิของน้ำมันต่ำลงเร็วส่งผลให้น้ำมันเปลี่ยนเป็นสีคล้ำทำให้ขนมสีไม่สวย

ขนมประเภทกวน
ถ้าพูดถึงขนมไทยที่ใช้วิธีการกวนในการทำ หลายคนคงเคยลิ้มรสชาติขนมเหล่านี้มาบ้างแล้วไม่ว่าจะเป็นขนมตะโก้ ขนมเปียกปูน ลอดช่องไทย ซ่าหริ่ม เผือกกวน กระยาสารท กะละแม เป็นต้น กว่าจะได้มาเป็นขนมที่อร่อยเชื่อว่าต้องผ่านกรรมวิธีเทคนิคต่าง ๆ และไม่พลาดที่จะคัดสรรวัตถุดิบอย่างดี
เตรียมแป้งก่อนกวนทุกครั้ง แป้งที่ใช้ในการกวนจะต้องเป็นแป้งที่เก็บไว้ไม่นานจนเกินไป ทุกครั้งที่นำแป้งมาใส่ภาชนะเพื่อกวนกับส่วนผสมอื่น ๆ แนะนำให้ค่อย ๆ เทส่วนผสมอื่นลงไปทีละน้อยพร้อมกับนวดแป้งให้เหนียวอย่างเบามือประมาณ 10 นาที จึงใส่ของเหลวที่เหลือทั้งหมดลงไป แล้วนวดให้เป็นเนื้อเดียวกัน
การใช้ไฟในขณะกวน การกวนขนมควรใช้ไฟกลางหรือไฟอ่อน ไม่ควรใช้ไฟแรงเป็นอันขาด เพราะจะทำให้ขนมจับตัวเร็วขึ้น เนื้อขนมไม่เหนียวหรืออาจไหม้ได้ง่าย แนะนำให้ใช้ไฟอ่อน ๆ เพื่อให้ขนมสุกทั่วและป้องกันการไหม้ของขนมระหว่างกวน
เทคนิคการกวน พายที่ใช้กวนส่วนมากเป็นพายไม้ เพราะมีความแข็งแรงและไม่มีส่วนใดละลายลงไปปนเปื้อนขนมวิธีกวนที่จะทำให้ได้ขนมมีความเหนียวดีจะต้องกวนไปทางเดียวกันตลอดจนขนมได้ที่

ขนมประเภทวุ้น
วุ้นถือได้ว่าเป็นขนมที่หลายคนชื่นชอบ สามารถรับประทานได้ทั้งเด็กและ ผู้ใหญ่มีวิธีการทำที่ไมยุ่งยากเหมือนการทำขนมชนิดอื่น ๆ เพราะมีผงวุ้นสำเร็จรูปที่วางขายในตลาดให้เลือกหลายแบบหลายรส เช่น วุ้นกะทิใบเตย วุ้นลาย วุ้นชั้น วุ้นลูกตาล หรือวุ้นสังขยา แต่การทำวุ้นให้ได้รสชาติที่ถูกปากนั้นควรเข้าใจในการเลือกวัตถุดิบและเรียนรู้เทคนิคการทำอย่างเข้าใจ
การใช้ผงวุ้น ในท้องตลาดมีวุ้นหลายยี่ห้อด้วยกัน ซึ่งจะมีคุณสมบัติแตกต่างกัน อาทิ มีความเหนียวน้อยเหนียวมากแตกต่างกันออกไป ปกติแล้วผงวุ้นจะใช้อัตราส่วนมาตรฐานคือ 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 2 ถ้วยตวง
การตั้งไฟ ควรใช้ไฟปานกลางในการเคี่ยวต้มวุ้นให้ใสเป็นเงา ต้องให้ผงวุ้นละลายก่อนจึงใส่น้ำตาล ส่วนการทำวุ้นให้เป็นชั้น ๆ ไม่ควรทิ้งผิววุ้นให้แห้ง เพราะเมื่อเราหยอดชั้นต่อไปจะทำให้วุ้นไม่ติดกันจนทำให้แต่ละชั้นหลุดออกจากกันได้ถ้าต้องการให้วุ้นมีความกรอบแนะนำให้ตั้งไฟเคี่ยวนาน ๆ เพื่อให้เหนียว แล้วคอยตักฟองออก

ขนมประเภทอบ
การอบขนมเป็นวิธีที่ได้รับความนิยม เพียงแค่นำส่วนผสมที่เตรียมไว้เข้าเตาอบใช้เวลารอไม่นานก็ได้ขนมอบสุก มีกลิ่นหอมน่ารับประทาน นอกจากนี้การอบยังเป็นการยืดอายุในการเก็บรักษาขนมไว้ได้นานกว่าปกติ เช่น ขนมกลีบลำดวน ขนมผิง ขนมหม้อแกง ขนมไข่ เป็นต้น ซึ่งการอบขนมเเต่ละครั้งอาจจะไม่ได้ตามที่เราต้องการเสมอไป แต่อาจขึ้นอยู่กับการเลือกอุปกรณ์ในการอบ
การเลือกพิมพ์อบหรือถาดอบ ต้องเลือกใช้วัสดุที่ทำมาจากอะลูมิเนียมและอะลูมิเนียมฟอยล์ ไม่ควรใช้พิมพ์อบที่ทำมาจากสเตนเลสเพราะมีความร้อนสูงและเก็บความร้อนได้นาน ทำให้ขนมไหม้เร็วไม่น่ารับประทาน ส่วนการอบขนมเป็นชิ้นเล็ก ๆ นิยมใช้ถาดอบเตี้ยหรือถาดไม่มีขอบเพราะจะทำให้ความร้อนกระจายทั่วถึง สำหรับการอบขนมชิ้นใหญ่ เช่น ขนมบ้าบิ่น ขนมหม้อแกง ควรใช้ถาดมีขอบสูงประมาณ 1 นิ้ว เมื่ออบสุกตามที่ต้องการแล้วสามารถยกเสิร์ฟหรือจัดจำหน่ายทั้งถาดได้เลย


ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก : https://cooking.kapook.com/view91764.html

มารู้จักสีผสมอาหารจากธรรมชาติกันนะ




สีผสมอาหาร จากธรรมชาติ ได้มาจากอะไรบ้าง

การใช้สีผสมอาหารมีจุดประสงค์เพื่อให้อาหารแลดูสวยงาม น่ารับประทาน ซึ่งสามารถดึงดูดใจผู้บริโภคทั้งเด็กและผู้ใหญ่ แต่เราจะใช้ยังไงให้ปลอดภัย ถ้าเราต้องซื้ออาหารที่เค้าทำขายตามท้องตลาด ซึ่งผู้ค้าสมัยนี้หาคนที่มีสำนึกรับผิดชอบได้น้อยมาก โอกาส ที่เราจะได้รับอันตรายจากสีสังเคราะห์ที่ใช้ผสมอาหารนั้นมีมาก ทางที่ดีถ้าเรามีฝีมือในการทำอาหารอยู่บ้างแล้ว แนะนำให้ทำทานเองที่บ้านดีกว่า ถึงแม้ว่าการทำครั้งแรกอาจจะไม่อร่อยถูกปากเหมือนกับที่ซื้อเค้ามา แต่ถ้าเราทำบ่อยๆ เราก็สามารถพัฒนาฝีมือของเราเองไปเรื่อยๆ แถมยังได้อาหารที่สด สะอาดและปลอดภัยอีกด้วย วันนี้เรามีวิธีการนำสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ ที่หลายคนยังไม่เคยรู้ว่าทำได้ มาทำสีผสมอาหาร ยังไงลองเอาไปทำดูนะคะรับรองว่าปลอดภัยจากอันตรายจากสีสังเคราะห์ 100 %

สีเหลือง
  • ขมิ้น นำเหง้าแก่ ล้างด้วยน้ำสะอาดปอกเปลือกแล้ว นำไปบดให้ละเอียด เติมน้ำลงไปแล้วคั้นและกรองจะได้น้ำสีเหลืองเข้ม 
  • ฟักทอง นำเนื้อฟักทอง ปอกเปลือกออก ฝานไส้และเมล็ดทิ้ง ล้างให้สะอาด นึ่งให้สุก เอามายีผสมกับแป้งหรืออาหารตามต้องการ 
  • ลูกตาล นำผลตาลสุก ปอกเปลือกออก เติมน้ำลงไปเล็กน้อย นวดเอาเนื้อสีเหลืองออกให้หมดจากเส้นใย เทลงถุงผ้าหนาๆ มัดปากถุงแล้วทับให้แห้ง จะได้เนื้อลูกตาลสีเหลือง 
  • ดอกคำสฝอย นำดอก น้ำมาชงในน้ำร้อนจะได้น้ำสีเหลือง 
  • ดอกกรรณิการ์ ส่วนที่ใช้คือหลอดดอก นำหลอดดอกในปริมาณ 1 ถ้วย ใสในผ้าขาวบาง หยุดน้ำใส่เล็กน้อยแล้วคั้นเอาแต่น้ำไปใช้ 
  • ลูกพุด ผลแก่หรือผลแห้ง แกะเปลือกออกแล้วนำไปแช่ในน้ำร้อนแล้วนำน้ำไปใช้

สีแดง
  • รังครั่ง นำรังครั่งมาแช่ในน้ำร้อน กรอง จะได้น้ำสีแดงใส 
  • ข้าวแดง เมล็ดข้าวแดง นำเมล็ดข้าวแดงมาบดให้ละเอียด แล้วนำไปผสมอาหาร 
  • กระเจี๊ยบ กรีบรองดอกและกลีบเลี้ยง นำมาต้มในน้ำ เคี่ยวให้สีแดงออกมา กรองเอากากออก นำน้ำที่ได้ไปใช้แต่งสี
  • ถั่วแดง เมล็ดหถั่วแดง ล้างให้สะอาดแล้วต้มเคี่ยวกับน้ำ แล้วนำน้ำสีแดงที่ได้ไปผสมกับอาหาร

สีเขียว
  • ใบเตย นำใบเตยสด ล้างน้ำให้สะอาด หั่นเป็นท่อนตามขวาง ตำหรือโขลก เติมน้ำลงไปเล็่กน้อยแล้วคั้น กรองด้วยผ้าขาวบางจะได้น้ำสีเขียว

สีส้มอมเหลือง
  • เมล็ดคำแสด เมล็ดผลของคำแสด นำมาบดแล้วแชช่น้ำ รองเอากากออก ตั้งทิ้วไว้ ให้สีตกตะกอนรินน้ำใส่ๆ ทิ้ง นำตะกอนสีแสดไปใช้แต่งสี

สีน้ำตาล
  • น้ำตาลจากอ้อยหรือมะพร้าว โดยใช้น้ำตาลทรายและน้ำตาลปึก นำไปเคี่ยวไฟอ่อนๆ จนเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลนำไปใช้แต่งสีได้
  • น้ำตาลไหม้ ใช้น้ำตาลทราย หรือน้ำตาลปึก ตั้งไฟละลายเคี่ยวจนไหม้ แต่งหน้าขนมนางเล็ด

สีน้ำเงิน
  • ดอกอัญชัน นำกลีบดอกมาบด เติมน้ำลงไปเล็กน้อย กรองด้วยผ้าขาวบาง คั้นน้ำออกมาจะได้นำสีน้ำเงิน

สีม่วง
  • ดอกอัญชัน นำกลีบดอกมาบด เติมน้ำลงไปเล็กน้อย กรองด้วยผ้าขาวบาง คั้นน้ำออกมาจะได้นำสีน้ำเงิน เติมน้ำมะนาวลงไปเล็กน้อยจะได้สีม่วง
  •  แก้วมังกร นำเนื้อแก้วมังกรที่มีข้างในสีม่วง มาคั้นแล้วกรองเอาน้ำ นำน้ำที่ได้ไปใช้แต่งสีม่วง ถ้าต้องการสีชมพูก็นำน้ำไปใช้ผสมในปริมาณ น้อยก็จะได้สีชมพู

สีผสมอาหารจากพืช ที่คนไทยโบราณใช้กันมา ในปัจจุบันชักจะเลือนหายไปทุกที ซึ่งการใช้สีผสมอาหารจากธรรมชาติ 100 % นอกจากจะได้สีสันที่สวยงามแล้ว ยังได้กลิ่นเฉพาะตัวอีกด้วย สีที่เราสามารถสกัดได้จากพืชหลายสี เป็นสีที่ปลอดภัยและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ได้แก่

สีเหลือง
สกัดได้จาก ขมิ้นชันและขมิ้นอ้อย ล้างดินปอกเปลือก โขลกให้ละเอียด เติมน้ำแล้วกรองเอา
แต่น้ำ ใช้ทำข้าวเหนียวหน้ากุ้ง ข้าวหมกไก่ แกงกะหรี่ ขนมเบื้องญวนดอกคำฝอย ให้สีเหลืองอ่อนใช้กลีบตากแห้งต้มกับน้ำเดือด 5 นาที กรองเอากากทิ้ง ใช้ผสมขนมต่าง ๆเมล็ดคำแสด ให้สีเหลืองแสด ใช้เมล็ดแห้งแช่น้ำร้อน กรองเอาแต่น้ำลูกพุด ใช้ผลแก่หรือแห้ง ซื้อตามร้านขายยาแผนโบราณ แช่น้ำร้อน กรองเอาแต่น้ำ ดอกกรรณิการ์ ให้สีแสด ใช้ก้านดอกสีแสด บิดให้ช้ำ เติมน้ำนิดหน่อย ห่อผ้าขาวบางคั้นเอาแต่น้ำ ลูกตาลสุก ลอกเปลือกแข็งออกใส่น้ำพอท่วม นวดให้เนื้อเละ เติมน้ำอีกเท่าตัว คนให้เข้ากัน คั้นกรองเอาเส้นและเปลือกทิ้ง เทน้ำใส่ถุงผ้าทับให้แห้ง ทำขนมตาล ขนมเค้ก ไอศกรีม ฟักทอง นึ่งผสมกับแป้ง ทำขนมถั่วแปบแครอท ต้มสุกบดละเอียด ผสมลงในถั่วกวน

สีเขียว
ใบเตยหอม ใช้ใบค่อนข้างแก่หั่นละเอียด โขลกเติมน้ำ คั้นน้ำ ทำขนมชั้น มะพร้าวแก้ว
ซ่าหริ่ม ลอดช่องใบย่านาง ใบพริก ใบผักชี ใบมะตูม ใบตะไคร้ พริกเขียว โขลกละเอียด คั้นน้า
แต่งสีอาหารคาว เช่น แกงบอน แกงเขียวหวาน

สีแดง
รังครั่ง แช่น้ำร้อนหรือต้ม ถ้าต้องการสีแดงใส ใช้สารส้มแกว่งในน้ำที่ได้ ทำขนมชั้น ซ่าหริ่ม
ขนมน้ำดอกไม้พริก ที่สุกแดงทุกชนิดแกะเมล็ดออก โขลกเนื้อพริกให้ละเอียดใช้ได้ทั้งพริกแห้ง และพริกสด ทำแกงเผ็ด น้ำพริก น้ำยา น้ำจิ้มมะเขือเทศสุก หั่น สับ ต้มและยีทำเป็นซอสมะเขือเทศกระเจี๊ยบ ใช้กลีบหุ้มผลต้มกับน้ำคั้นเอาแต่น้ำสีแดงเมล็ดผักปรัง ใช้เมล็ดแก่สีแดงคล้ำ ขยี้คั้นเอาแต่น้ำ

สีน้ำเงิน
ดอกอัญชัน ใช้กลีบสีน้ำเงินขยี้ให้ช้ำเติมน้ำเล็กน้อย กรองด้วยผ้าขาวบาง ทำขนมชั้น ซ่าหริ่ม
ถั่วแปบ

สีม่วง
ดอกอัญชัน บีบมะนาวลงไป ทำขนมช่อม่วง

สีดำ
ถ่านกาบมะพร้าว บดละเอียดเติมน้ำคั้น กรอง ทำขนมเปียกปูน ดอกดิน เอื้องดิน โขลกผสม
กับแป้ง น้ำตาล ทำขนมดอกดิน ถั่วดำ ต้มสุกโขลกละเอียด ทำไส้ซาลาเปา ขนมเปี๊ยะ

สีน้ำตาล
น้ำตาลไหม้ ใช้น้ำตาลทราย หรือน้ำตาลปึก ตั้งไฟละลายเคี่ยวจนไหม้ แต่งหน้าขนมนางเล็ด
สีเหล่านี้มีให้เลือกใช้นำไปปรุงอาหารทั้งคาวและหวาน แตกต่างกันไปตามความประสงค์ของผู้ใช้ แต่มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน นั่นคือความสบายใจของผู้บริโภคที่ได้รับแต่ของดีมีประโยชน์

สีดำ
ถั่วดำ นำเมล็ดถั่วดำมาล้างให้สะอาด ต้มเคี่ยวกับน้ำจะได้สีดำ
มะพร้าว นำเปลือกมะพร้าวมาเผาไฟ แล้วเอาไปบดผสมกับน้ำแล้วกรอง จะได้น้ำสีดำนำไปใช้ผสมอาหาร

ประโยชน์ของสีในพืช
  • สารสีแดง มีสาร Cycopene เป็นตัวพิวเม้นท์ให้สีแดงในแตงโม มะเขือเทศ สาร Betacycin ให้สีแดง ในลูกทับทิม บีทรูท และแคนเบอร์รี่ สารทั้งสองอย่างนี้เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ หรือ Antioxydants ซึ่งจะช่วยป้อง กันการเกิดมะเร็งหลายชนิด 
  • สารสีส้ม ผักและผลไม้สีส้ม เช่น มะละกอ แครอท มีสาร Betacarotene ซึ่งมีศักยภาพต้านอนุมูลอิสระอันเป็นตัวก่อมะเม็ง คนผิวขาวซีดที่กินมะละกอหรือแครอทมาก ผิวจะออกสีเหลืองสวย ทางกระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกาประกาศว่า การกินแครอทวันละ 2-3 หัว จะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล หรือไขมันในเลือด คนไทยที่ทดลองกินมะละกอห่ามมากๆ นานถึง 2 ปี จะช่วยเปลี่ยนสีผิวหน้าที่เป็นฝ้าให้หายได้โดยไม่ต้องพึ่งครีมแก้ฝ้าเลย 
  • สารสีเหลือง พิกเม้นต์ Lutein คือสารสีเหลืองที่ให้สีสันแก่ข้าวโพด ช่วยป้องกันกันความเสื่อมของจุดสี หรือแสงสีของเรตินาดวงตา ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนแก่มองไม่เห็น 
  • สารสีเขียว พิกเม้นต์คลอโรฟีลล์ (Chlorophyll ) เป็นสารที่ให้สีเขียวแก่ผักต่างๆ ผักที่มีสีเขียวแก่ผักต่างๆ ผักที่มีสีเขียวเข้มมากก็ยิ่งมีคลอโรฟีลล์มาก เช่น ตำลึง คะน้า บร็อกโคลี่ ชะพลู บัวบก เป็นต้น และสารคลอโรฟีลล์ ก็มีคุณค่ามากเหลือเกิน นักวิทยาศาสตร์บอกว่าเมื่อคลอโรฟีลล์ถูกย่อยแล้ว จะมีพลังแรงมากในการป้องกันมะเร็ง ทั้งยังช่วยขจัดกลิ่นเหม็นต่างๆ ในตัวคนด้วย
  •  สารสีม่วง พืชสีม่วงมีสารแอนโทไซยานิน ( Anthocyanin ) เป็นต้นให้สีม่วงที่คุณเห็นในดอกอัญชัน กะหล่ำม่วงผิวชมพู่มะเหมี่ยว มะเขือม่วง แบล็กเบอร์รี่ บลูเบอร์รี่ นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าสารตัวนี้ช่วย ลบล้างสารที่ก่อมะเร็งและสาร Anthocyanin นี้ยังออกฤทธิ์ทางขยายเส้นเลือด ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ และอัมพาตด้วย

ศัพท์ภาษาอังกฤษทั่วไปในห้องครัว



คำศัพท์ในห้องครัวเป็นภาษาอังกฤษ
1.        ตู้เย็น
Refrigerator


2.        ตู้เย็น
Fridge


3.        แก้วน้ำ
Glass


4.        ม้ากลม
Stool


5.        ช้อนชา
Teaspoon


6.        ส้อม
Fork


7.        ช้อน
Spoon


8.        ช้อนโต๊ะ
Table spoon


9.        หม้อ
Saucepan


10.        ขยะ
Rubbish


11.           ผ้าเช็ดชาม
Tea towel


12.           ถ้วย
Cup


13.           ชาม
Bowl


14.           ตู้เก็บของ
Cupboard


15.           จาน
Plate


16.           กระทะ
Frying pan


17.           จานรองถ้วย
Saucer


18.           ลิ้นชัก
Drawer


19.           ที่ตักผง
Dustpan


20.           เครื่องซักผ้า
Washing machine


21.           ไม้กวาด
Broom


22.           กระเบื้อง
Tile


23.           ที่ตักผง
Duster


24.           ไม้ถูพื้น
Mop


25.           มีด
Knife


26.           กาน้ำร้อน
Kettle


27.           อ่างล้างจาน
Sink


28.           เตา
Cooker


29.           เตาอบ
Stove


30.           ไม้ขีดไฟ
Matches


31.           ไฟแช็ก
Lighter


32.           ผ้ากันเปื้อน
Apron


33.           กระปุก
Jar


34.           หลอด
Straw


35.           ผ้าปูโต๊ะ
Tablecloth


36.           ตะกร้า
Basket


37.           ขวด
Bottle


38.           กาน้ำชา
Teapot


39.           ตะเกียบ
Chopstick


40.           ทัพพี
Ladle


41.           ที่ตักทรงกระบวย
Scoop


42.           แผ่นรองอบ
Baking sheet


43.           ที่ตัดแกนแอปเปิล
Apple corer


44.           ที่ตัดแอปเปิล
Apple cutter


45.           พิมพ์ตัดคุ้กกี้
Biscuit cutter / cookie cutter


46.           เครื่องทำลายบนคุ้กกี้
Biscuit press / cookie press


47.           ถาดรองอบ
Baking pan


48.           กระทะทำแพนเค้ก
Crepe pan / tava


49.           เครื่องปั่น
Food processor


50.           หม้ออบความดัน
Pressure cooker


51.           หม้อสำหรับต้มน้ำซุป
Stockpot


52.           จานเล็กๆซึ่งเข้าเตาอบได้
Ramekin


53.           กระทะปิ้ง
Roasting pan


54.           เครื่องปิ้งบาบีคิว
Barbecue grill


55.           เตาเหล็กมีขาตั้ง เคลื่อนที่ได้
Brazier


56.           เครื่องทำขนมปัง
Bread machine


57.           เครื่องพ่นไฟบนหน้าอาหาร/ขนม
Butane torch


58.           เครื่องละลายเนยแข็ง
Cheese melter


59.           ลังถึง / ที่นึ่ง
 Steamer


60.           เตาอบไมโครเวฟ
 Microwave oven


61.           เครื่อปิ้งข้าวโพด
Corn roaster


62.           เครื่องทำเครป
Crepe maker


63.           เครื่องทอดของแบบที่ใช้น้ำมันเยอะ
Deep fryer


64.           เตาอบลมร้อน
Halogen oven


65.           กระทะร้อน
Hot plate


66.           เตาอบ
Oven


67.           เครื่องทำป็อปคอร์น
Popcorn maker


68.           หม้ออบความดัน
Pressure cooker


69.           เครื่องทอดความดัน
Pressure fryer


70.           หม้อหุงข้าว
Rice cooker


71.           เครื่องปิ้งย่างด้วยไฟฟ้า
Rotisserie


72.           เครื่องทำนมถั่วเหลือง
Soy milk maker


73.           เตาดินใช้ย่าง มักใช้กับอาหารอินเดีย
Tandoor


74.           เครื่องปิ้งขนมปัง
Toaster


75.           เครื่องทำวาฟเฟิล
Waffle iron


76.           เครื่องบด
Grinder / mincer


77.           เครื่องต้มและกรองกาแฟ
Coffee percolator


78.           เครืองทำกาแฟ
Coffeemaker


79.           ช้อน ส้อม และมีด
Cutlery


80.           มีดที่ไว้ใช้ตัดเนย
Butter knife


81.           เหล็กแหลมใช้เสียบเนื้อย่าง
Skewer


82.           ไม้จิ้มฟัน
Toothpick


83.           เครื่องพ่นไฟบนหน้าอาหาร/ขนม
Blow torch


84.           ที่เปิดขวด
Bottle opener


85.           มีดตัดขนมปัง
Bread knife


86.           ที่เสิร์ฟเค้ก
Cake server / cake shovel


87.           ที่เสิร์ฟพาย
Pie server /pie cutter


88.           มีดตัดชีส(เนยแข็ง)
Cheese knife


89.           ผ้าห่อชีส
Cheesecloth


90.           มีดปลายแหลมใช้สำหรับหั่นเนื้อ
Chef’s knife


91.           มีดปังตอม มีดขนาดใหญ่
Cleaver


92.           ตะแกรง / กระชอน
Colander


93.           ที่เปิดจุกไม้ค็อก
Corkscrew


94.           ที่แกะเปลือกปู หรือกุ้งเปลือกแข็ง
Crab cracker/  Lobster cracker


95.           เขียง
Cutting board


96.           ที่แบ่งแป้งโด
Dough scraper


97.           ที่ตัก egg poach
Egg poacher


98.           ที่แยกไข่แดง ไข่ขาว
Egg separator


99.           เครื่องแบ่งไข่
Egg slicer


100.      นาฬิกาจับเวลาต้มไข่
Egg timer


101.      มีดเลาะกระดูก
Fillet knife


102.      ที่ขอดเกล็ดปลา
Fish scaler


103.      ที่แล่เนื้อปลา
Fish slice


104.      ตะแกรงร่อนแป้ง
Flour sifter


105.      เครื่องโม่
Food mill


106.      กรวย
Funnel


107.      ที่บดกระเทียม
Garlic press


108.      ที่ขูดชีส
Grater c / shredder


109.      ที่กรองน้ำเกรวี
Gravy strainer / gravy separator


110.      มีดสับสมุนไพร
Herb chopper


111.      ที่กวนน้ำผึ้ง
Honey dipper


112.      เครื่องคว้านรูเลมอน
Lemon reamer


113.      เครื่องคั้นน้ำเลมอน
Lemon squeezer


114.      ส้อมจิ้มเนื้อปู/กุ้งเปลือกแข็ง
Lobster pick


115.      ถ้วยตวง
Measuring cup


116.      ช้อนตวง
Measuring spoon


117.      ที่ทุบเนื้อ
Meat tenderizer


118.      เครื่องวัดอุณหภูมิเนื้อ (สุกมาก – น้อย)
Meat thermometer


119.      ครก
Mortar


120.      สาก
Pestle


121.      ที่กระเทาะเปลือกถั่ว
Nutcracker


122.      ถุงมือกันความร้อน
Oven glove / oven mitt

123.      ถุงบีบครีมแต่งหน้าขนม
Pastry bag


124.      เครื่องผสมแป้ง
Pastry blender


125.      แปรงสำหรับขนมอบ
Pastry brush


126.      ที่ปอกเปลือก
Peeler


127.      ขวดพริกไทย (แบบบด)
Pepper mill


128.      ที่ตัดพิซซา
Pizza cutter


129.      ที่บดมันฝรั่ง
Potato masher


130.      ที่จับหม้อกันความร้อน
Pot-holder


131.      ไม้นวดแป้ง
Rolling pin


132.      ขวดเกลือ
Salt shaker


133.      ตาชั่ง
Scales


134.      กรรไกร
Scissors


135.      ตะแกรง
Sieve / sifter/ strainer


136.      พาย
Spatula


137.      กระชอน
Spider


138.      เครื่องวัดอุณหภูมิของหวาน
Sugar thermometer / andy thermometer


139.      กะละมังร่อนแป้ง
Tamis / rum sieve


140.      ที่เปิดกระป๋อง
In opener / Can opener


141.      มีหั่นมะเขือเทศ
Tomato knife


142.      คีม
Tongs


143.      เข็มไว้เย็บในการทำอาหาร
Trussing needle


144.      เชือกไว้มัดในการทำอาหาร
Twine


145.      ด้าม/เครื่องตีไข่, ปั่นครีม
Whisk









ขอบคุณข้อมูลจาก: https://www.dailyenglish.in.th/kitchen-vocabularies/